วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

6. การอบอุ่นร่างกาย (WARMING  UP)
    6.1 อนุญาตให้เฉพาะเจ้าหน้าที่ทีม และผู้เล่น  6  คนของทีมทำการอบอุ่นร่างกายเป็นเวลา  2  นาทีในสนามแข่งขัน









นักกีฬาหรือผู้เล่น เครื่องแต่งกายผู้เล่น

4. นักกีฬาหรือผู้เล่น (THE  PLAYERS)
     4.1 แต่ละทีมมีผู้เล่น คน และผู้เล่นสำรอง คน บัญชีรายชื่อผู้เล่นอย่างน้อย คน ซึ่งต้องส่งรายชื่อให้คณะกรรมการจัดการแข่งขันก่อนกำหนดการแข่งขัน 30 นาที
     4.2 ในระหว่างการแข่งขัน สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้เพียง คน  ในกรณีที่นักกีฬาบาดเจ็บหรือการเปลี่ยนตัวทางเทคนิค โดยผู้ที่เปลี่ยนตัวเข้าใหม่ จะถูกนับคะแนนต่อจากผู้ที่ถูกเปลี่ยนตัวออกไป

5. เครื่องแต่งกายผู้เล่น (THE  PLAYERS  ATTIRES)
    5.1 อุปกรณ์ที่ใช้ต้องเหมาะกับการเล่นกีฬาตะกร้อ อุปกรณ์ใดที่ออกแบบเพื่อเพิ่มหรือลดความเร็วของลูกตะกร้อ,  เพื่อเพิ่มความสูงหรือเพิ่มการเคลื่อนไหว  หรือด้วยวิธีที่เป็นการได้เปรียบหรืออาจเป็นอันตรายต่อตัวผู้เล่นเอง หรือผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม จะไม่อนุญาตให้ใช้
     5.2 เพื่อป้องกันข้อโต้แย้งและความสับสน ทั้งสองทีมที่ทำการแข่งขันต้องสวมเสื้อสีต่างกัน
     5.3 ทุกทีมต้องมีเสื้อสำหรับการแข่งขันอย่างน้อย  2  ชุด  และมีสีต่างกัน   โดยชุดหนึ่งเป็นสีอ่อนและอีกชุดหนึ่งเป็นสีเข้ม หากทั้งสองทีมสวมเสื้อสีเดียวกัน  ทีมเจ้าบ้านต้องเปลี่ยนสีเสื้อในการแข่งขัน  ในสนามกลางทีมที่มีชื่อแรกในโปรแกรมต้องเปลี่ยนสีเสื้อ
     5.4 อุปกรณ์ ของผู้เล่นประกอบด้วย เสื้อยืดคอปกหรือคอกลม กางเกงขาสั้น ถุงเท้าและรองเท้ากีฬาพื้นยางและไม่มีส้น อุปกรณ์และชุดแต่งกายถือเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายนักกีฬา  เสื้อต้องสวมอยู่ในกางเกงตลอดเวลา  ในกรณีอากาศหนาวอนุญาตให้ผู้เล่นสวมชุดวอร์ม
     5.5 เสื้อที่สวมต้องมีหมายเลขกำกับทั้งด้านหน้าและด้านหลัง  ผู้เล่นแต่ละคนต้องใช้หมายเลขประจำตลอดรายการแข่งขัน แต่ละทีมอนุญาตให้ใช้หมายเลข 1-15 ขนาดเบอร์ต้องสูงไม่น้อยกว่า 19 เซนติเมตร  สำหรับด้านหลัง  และสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร สำหรับด้านหน้า (ตรงกลางหน้าอก)
     5.6 หัวหน้าทีมของแต่ละทีมต้องสวมปลอกแขนที่มีสีต่างจากสีเสื้อไว้ที่แขนด้านซ้าย
      5.7 อุปกรณ์อื่นใดที่มิได้ระบุในกติกาการแข่งขันต้องได้รับการรับรองจากคณะกรรมการเทคนิคของสหพันธ์เซปักตะกร้อนานาชาติ  ก่อน

ลูกตะกร้อ

3. ลูกตะกร้อ (THE  SEPAKTAKRAW  BALL)
mt201.jpg (10759 bytes)
3.1 ลูกตะกร้อ ต้องมีลักษณะเป็นทรงกลม ทำด้วยหวายหรือใยสังเคราะห์ชั้นเดียว
     3.2 ลูกตะกร้อ ที่มิได้หุ้มด้วยยางสังเคราะห์ ต้องมีลักษณะดังนี้
            3.2.1 มี 12 รู
            3.2.2 มี 20 จุดตัดไขว้
            3.2.3 มีเส้นรอบวงวัดได้ไม่น้อยกว่า 41-43 เซนติเมตร สำหรับผู้ชาย และ 42-44 เซนติเมตร สำหรับผู้หญิง
           3.2.4 มีน้ำหนักระหว่าง 170-180 กรัม สำหรับผู้ชาย และ 150-160 กรัม สำหรับผู้หญิง
   3.3 ลูกตะกร้อจะมีสีเดียวหรือหลายสีหรือสีสะท้อนแสงก็ได้ แต่ไม่เป็นสีที่กระทบต่อผลการเล่นของนักกีฬา
     3.4 ลูก ตะกร้ออาจหุ้มด้วยยางสังเคราะห์หรือวัสดุผิวนุ่มที่มีความทนทาน เพื่อลดแรงกระทบต่อผู้เล่น ลักษณะของวัสดุและวิธีทำลูกตะกร้อหรือการเคลือบลูกตะกร้อด้วยยางดังกล่าว ต้องได้รับการรับรองจากสหพันธ์เซปักตะกร้อนานาชาติ ก่อนใช้ในการแข่งขัน
     3.5 การแข่งขันระดับโลกระดับนานาชาติระดับภูมิภาคที่รับรองโดย สหพันธ์เซปักตะกร้อนานาชาติ  (ISTAF)รวมทั้งการแข่งขันที่มิได้ถูกจำกัดในกีฬา โอลิมปิคเกมส์กีฬาเครือจักรภพเอเชี่ยนเกมส์ และซีเกมส์ ต้องใช้ลูกตะกร้อที่ได้รับการรับรองจาก สหพันเซปักตะกร้อนานาชาติ (ISTAF)

1. สนามแข่งขันตะกร้อลอดห่วง (THE  COURT)


     1.1 สนามเป็นพื้นราบ จะอยู่ในร่มหรือกลางแจ้งก็ได้ มีวงกลมรัศมี  4  เมตร ความกว้างของเส้นวงกลมมีขนาด  เซนติเมตร
     1.2 สนามต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใด ๆ วัดจากพื้นสนามขึ้นไปอย่างน้อยประมาณ  8  เมตร
     1.3 มีห่วงชัยแขวนอยู่  ณ  จุดศูนย์กลางของวงกลมกลางสนาม โดยเชือกที่แขวนห่วงมีความยาวจากรอกอย่างน้อย 50  เซนติเมตร

2. ห่วงชัย (THE  OFFICIAL  HOOP)
      ห่วงชัย ประกอบด้วยวงกลม 3 วง ขนาดเท่ากัน โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางวัดจากขอบภายใน 50  เซนติเมตร ห่วงดังกล่าวทำด้วยโลหะ ต้องผูกหรือบัดกรีเชื่อมต่อกันให้แน่นเป็นรูป 3เส้า (สามเหลี่ยม) วงห่วงแต่ละห่วงตั้งตรงและหุ้มด้วยวัสดุที่มีความนุ่ม ซึ่งวัดโดยรอบไม่เกิน  10 เซนติเมตร โดยมีถุงตาข่ายทำหรือถักด้วยด้ายสีขาวผูกรอบห่วงทุกห่วง ขอบล่างของห่วงต้องสูงจากพื้นสนาม  4.75  เมตร สำหรับผู้ชาย และ  4.50  เมตร สำหรับผู้หญิง


การเดาะตะกร้อด้วยเข่า
         ยืนในท่าเตรียมพร้อม มือถือลูกตะกร้อโยนแล้วเดาะด้วยเข่าข้างถนัดต่อเนื่องกันจนกว่าลูกตะกร้อจะ ตกพื้น แล้วหยิบลูกตะกร้อขึ้นมาเดาะใหม่ ปฏิบัติเหมือนเดิมหลาย ๆ ครั้ง เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า การเดาะด้วยเข่าข้างที่ถนัดดีแล้ว ให้เปลี่ยนเดาะด้วยเข่าข้างที่ไม่ถนัดบ้าง หรืออาจจะสลับการเดาะด้วยเข่าทั้งสองข้างก็ได้




การเล่นตะกร้อด้วยศีรษะ
       เป็นทักษะพื้นฐานที่มีความสำคัญสำหรับการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อเป็นอย่างมาก นิยมใช้ในการเปิดลูกเสิร์ฟ การรุกด้วยศีรษะ ( การเขก ) การรับ การส่ง การชงลูก หรือการตั้งลูกตะกร้อ และการสกัดกั้นหรือการบล็อกลูกจากการรุกของฝ่ายตรงข้าม ผู้เล่นจะต้องฝึกหัดการเล่นตะกร้อด้วยศีรษะได้หลาย ๆ ลักษณะ โดยเฉพาะผู้เล่นตำแหน่งหน้าซ้ายและหน้าขวา จะต้องเล่นตะกร้อด้วยศีรษะได้เป็นอย่างดี 




การเดาะตะกร้อด้วยหลังเท้า


การเดาะตะกร้อด้วยหลังเท้า 
                    หมายถึง การเตะตะกร้อด้วยหลังเท้า  เบาๆ ซ้ำกันหลายๆครั้ง เป็นการเตะเพื่อบังคับลูกให้อยู่ใกล้ตัวในระดับสูงเกินสะเอว หลักการฝึกเช่นเดียวกับการเตะตะกร้อด้วยหลังเท้า แต่มีข้อแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ซึ่งมีหลักการเตะตะกร้อด้วยหลังเท้า ดังนี้
  1. การเดาะลูกด้วยหลังเท้า ปลายเท้าที่เดาะลูกจะกระดกขึ้น และลูกตะกร้อจะถูกหลังเท้าค่อนไปทางปลายเท้าบริเวณโคนนิ้วเท้าทั้งห้า ใช้ปลายเท้าตวัดลูกตะกร้อให้ลอยขึ้นมาตรง ๆ
  2.  ยกเท้าที่เดาะลูกให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้
  3. ขณะที่เดาะลูกควรก้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
  4. ควรฝึกเดาะลูกตะกร้อด้วยหลังเท้าให้ได้ทั้งสอง 









เทคนิคการเล่นเตะกร้อ


วิธีเล่น 
การเล่นหมู่ ผู้เล่นจะล้อมเป็นวง ผู้เริ่มต้นจะใช้เท้าเตะลูกตะกร้อไปให้อีกผู้หนึ่งรับ ผู้รับจะต้องมีความว่องไวในการใช้เท้ารับและเตะส่งไปยังอีกผู้หนึ่ง จึงเรียกวิธีเล่นนี้ว่า เตะตะกร้อ ความสนุกอยู่ที่การหลอกล่อที่จะเตะไปยังผู้ใด ถ้าผู้เล่นทั้งวงมีความสามารถเสมอกัน จะโยนและรับไม่ให้ตะกร้อถึงพื้นได้เป็นเวลานานมาก กล่าวกันว่าทั้งวันหรือทั้งคืนก็ยังมี แต่ผู้เล่นยังไม่ชำนาญก็โยนรับได้ไม่กี่ครั้ง ลูกตะกร้อก็ตกถึงพื้น


ประวัติกีฬาตะกร้อในประเทศไทย

 ในการค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดการกีฬาตะกร้อในอดีตนั้น ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่ากีฬาตะกร้อนั้นกำเนิดจากที่ใด
จากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผลดังนี้
ประเทศพม่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 พม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น ก็เลยเล่นกีฬาตะกร้อกัน ซึ่งทางพม่าเรียกว่า “ชิงลง”
        ทางมาเลเซียก็ประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า ซีปักรากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า
         ทางฟิลิปปินส์ ก็นิยมเล่นกันมานานแล้วแต่เรียกว่า Sipak
         ทางประเทศจีนก็มีกีฬาที่คล้ายกีฬาตะกร้อแต่เป็นการเตะตะกร้อชนิดที่เป็นลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งจะศึกษาจากภาพเขียนและพงศาวดารจีน ชาวจีนกวางตุ้งที่เดินทางไปตั้งรกรากในอเมริกาได้นำการเล่นตะกร้อขนไก่นี้ไปเผยแพร่ แต่เรียกว่าเตกโก (Tek K’au) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกขนไก่
ประเทศเกาหลี ก็มีลักษณะคล้ายกับของจีน แต่ลักษณะของลูกตะกร้อแตกต่างไป คือใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก
          ประเทศไทยก็นิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาวนาน และประยุกต์จนเข้ากับประเพณีของชนชาติไทยอย่างกลมกลืนและสวยงามทั้งด้านทักษะและความคิด